9 เทคนิคการถ่ายรูปอาหารลงโซเชียล ให้สวยและน่าทาน

1. เน้นแสงธรรมชาติ

แสงคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการถ่ายรูป และแสงที่ดีที่สุดคือแสงจากธรรมชาติ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ไฟเสริมในการถ่ายรูปอาหาร เพราะจะทำให้สีสันของอาหารผิดเพี้ยนไป หากเป็นไปได้ แนะนำให้นั่งโต๊ะข้างหน้าต่างเพื่ออาศัยแสงแดดจากนอกร้านในการถ่ายภาพ จะช่วยให้อาหารดูน่ากินที่สุดครับ

แสงธรรมชาติคือคำตอบหากคุณต้องการถ่ายภาพอาหารสวย ๆ โดยเก็บสีสันและรายละเอียดที่แท้จริงของอาหารไว้ แต่ถ้าคุณออกไปถ่ายภาพกลางแจ้งไม่ได้ ก็ให้เลือกถ่ายภาพใกล้หน้าต่างหรือบริเวณที่แสงแดดไม่ได้ส่องลงมาโดยตรง แต่หากแสงแดดแรงเกินไป ให้กระจายแสงโดยใช้ผ้าม่านหรือผ้าสีขาว อย่าลืมคำนึงถึงทิศทางของแสง วัตถุที่แสงเน้นย้ำในภาพถ่าย บริเวณที่แสงตกกระทบ และบริเวณที่เกิดเงา ไม่ควรใช้แฟลชเด็ดขาด เพราะจะทำให้อาหารของคุณได้รับแสงมากเกินไป จนสีสันและคุณภาพของภาพถ่ายถูกทำลายไปหมด 

2. เรียนรู้การใช้งานจุดตัด 9 ช่อง

สำหรับมือใหม่หัดถ่าย อาจจะยังไม่รู้จักหลักการจัดองค์ประกอบภาพด้วย “จุดตัด 9 ช่อง” เทคนิคนี้เป็นเทคนิคพื้นฐานที่ใช้กับการถ่ายรูปได้ทุกประเภท โดยจะใช้เส้นแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วนทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ออกเป็น 9 ส่วนเท่าๆ กัน และจะตัดกัน 4 จุด ซึ่งทั้ง 4 จุดนี้เองที่เป็นจุดสนใจหลักของภาพ และเป็นจุดที่ทำให้ตัวแบบโดดเด่นที่สุด ถ้าได้ฝึกใช้จนชำนาญจะช่วยให้ภาพถ่ายของเราดูน่าสนใจมากขึ้นทีเดียว 

สมาร์ทโฟนเกือบทุกรุ่นสามารถเปิดจุดตัดเก้าช่องบน viewfinder ได้ในหน้าการตั้งค่า บางรุ่นอาจเรียกฟีเจอร์นี้ว่า “ตาราง” หรือ “เส้น” บางรุ่นอาจมีแบบอื่นอย่างเส้นแสดงสัดส่วนทองให้เลือกใช้งานด้วย แต่อาจจะใช้ยากไปหน่อยสำหรับมือใหม่ 

3. อย่าใช้แฟลช

บางครั้งบรรยากาศภายในร้านอาหารอาจจะมืดไปสักหน่อยสำหรับการถ่ายรูป แต่ไม่ว่ายังไงก็ไม่แนะนำให้ใช้แฟลช เพราะนอกจากจะรบกวนลูกค้าคนอื่นในร้านแล้ว แสงแฟลชยังทำให้ภาพดูแข็ง และทำให้สีสันของอาหารดร็อปลง ดูไม่เป็นธรรมชาติ และไม่น่ากิน หากบรรยากาศมืดเกินไป ให้ชดเชยแสงด้วยการปรับ ISO หรือ Exposure แทนจะดีกว่า 

4. ถ่ายมุมท็อป

เทคนิคง่ายๆ ที่ทำให้รูปถ่ายอาหารดูดีขึ้น คือการถ่ายมุมบนแบบ top-down พยายามถ่ายให้เห็นทั้งจาน ระวังอย่าถ่ายใกล้เกินไป อาจเหลือพื้นที่รอบๆ จานในการวางพร็อพ เพื่อช่วยให้ภาพเล่าเรื่องได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การถ่ายแบบ top-down ยังทำให้การจัดวางองค์ประกอบภาพง่ายขึ้นด้วย 

การจัดองค์ประกอบสำคัญมากในการถ่ายรูปอาหารให้ดูน่ารับประทาน เทคนิค Flat Lay หรือการถ่ายภาพจากด้านบนของวัตถุ ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับการถ่ายภาพอาหาร เพราะจะเน้นสีสันและรูปทรงของอาหารในภาพถ่าย ให้คุณตัดสินใจว่าคุณจะโฟกัสองค์ประกอบใดของอาหาร จากนั้นจึงจัดกรอบภาพให้เหมาะกับสิ่งที่จะโฟกัส ก่อนถ่าย ให้ถือกล้องไว้เหนืออาหารเพื่อเก็บภาพรายละเอียดทั้งหมด ภาพถ่ายของคุณอาจจะมีองค์ประกอบความมนุษย์ติดเข้าไปด้วยก็ได้ เช่น มือที่กำลังเอื้อมไปหยิบอาหารในจาน ซึ่งจะเพิ่มชีวิตชีวาและบริบทให้กับภาพถ่าย 

5. หลีกเลี่ยงการซูม

แม้การซูมจะเป็นฟังก์ชันพื้นฐานที่กล้องสมาร์ทโฟนทุกรุ่นต้องมี แต่จริงๆ แล้วมันไม่จำเป็นต่อการถ่ายรูปสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะการซูมแบบดิจิทัล เพราะการซูมแบบดิจิทัลจะทำให้ภาพแตก และยังทำให้ภาพไวต่อการสั่นของมือมากขึ้น หากต้องการถ่ายแบบ close-up จริงๆ ให้ขยับเข้าไปใกล้ๆ แทนการซูมจะดีที่สุด 

6. ถ่ายหลายๆ รูปถ้าทำได้

หลายครั้งที่เราคิดว่ารูปถ่ายของเราสวยแล้ว แต่เมื่อเปิดดูอีกทีกลับพบว่าภาพไม่คม, แสงไม่พอดี หรือมีสิ่งแปลกปลอมติดเข้ามาในเฟรม จะกลับไปถ่ายใหม่อีกรอบก็ไม่ได้แล้ว ทำให้เราเสียรูปนั้นไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ก็ควรถ่ายเผื่อไว้หลายๆ รูป และลองเปลี่ยนมุมถ่ายหลายๆ มุมดู เราอาจจะได้พบมุมเจ๋งๆ ที่คาดไม่ถึงก็ได้ครับ 

7. ใช้เส้นนำสายตา

ดวงตาของคนเรามักจะมองตามเส้นสายต่าง ๆ ดังนั้นการใช้เส้นนำสายตาจะดึงความสนใจของผู้ชมมายังวัตถุ ส่วนประกอบในอาหารอย่างเช่น ก้านเซเลอรี่ อุปกรณ์ทำอาหารอย่างตะกร้อตีไข่หรือไม้พาย หรือแม้แต่เศษคุกกี้ สามารถนำมาใช้เป็นเส้นนำสายตาเพื่อช่วยให้ผู้ชมโฟกัสอยู่กับอาหารได้ ในภาพนี้ กาแฟลาเต้ด้านหน้าดึงดูดสายตาของผู้ชมได้ทันที จากนั้นจึงดึงสายตาไปยังพื้นหลัง การสร้างเส้นทแยงเส้นนี้ขึ้นมาให้มองเห็นโดดออกจากเส้นแนวนอนและขอบแนวตั้งของกรอบภาพ จะเป็นการเติมมิติเพิ่มเข้าไปในภาพถ่าย 

8. สำรวจมุมต่าง ๆ 

การถ่ายรูปจากมุมที่แตกต่างกันจะช่วยเน้นย้ำรายละเอียดของอาหารและเป็นการดึงผู้ชมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของภาพ ถ่ายรูปอาหารจากด้านบน หรือลดระดับกล้องลงมาให้ทำมุม 30-40 องศากับโต๊ะอาหาร หากต้องการถ่ายภาพสามมิติ ให้ถ่ายตัวแบบจากมุมทแยงเพื่อให้มองเห็นทั้งด้านข้างและด้านบน ทดลองถ่ายรูปจากมุมต่าง ๆ จนกระทั่งได้รูปภาพอาหารที่น่าดึงดูดใจที่สุด 

9. เติมเต็มกรอบภาพ

อย่ากลัวที่จะโชว์อาหารและรายละเอียดที่ชวนให้น้ำลายไหล ให้คุณเข้าไปใกล้ ๆ ตัวแบบ เพื่อให้อาหารปรากฎอยู่เต็มภาพ วิธีนี้เหมาะอย่างยิ่ง หากคุณต้องการดึงความสนใจของผู้ชมมายังองค์ประกอบบางอย่างในจาน อย่างเช่น ส่วนผสมสดใหม่อย่างในภาพด้านบน หรือแม้แต่วิธีการจัดจาน 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับเทคนิคพื้นฐานในการถ่ายรูปอาหารด้วยสมาร์ทโฟนให้ดูสวยงามน่ากินยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ การถ่ายรูปก็ถือเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยการฝึกฝนให้ชำนาญ จึงต้องเรียนรู้ และให้เวลากับมันสักหน่อย จึงจะได้ผลลัพธ์ที่สวยงามดั่งที่ใจต้องการครับ