โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก (SMA) เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคธาลัสซีเมียโดยอัตราส่วนสามารถพบได้ถึง 1 ใน 30 คนเลยทีเดียว เมื่อเป็นโรคนี้จะทำให้การสูญเสียการส่งสัญญาณระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
อาการ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก
กล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก จะมีความรุนแรงมากกว่าวัยผู้ใหญ่ ในเด็กบางคนอาจจะเริ่มแสดงอาการเมื่อโตขึ้น ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการได้ดังต่อไปนี้
- ทานอาหารยากกลืนเองไม่ได้
- กล้ามเนื้อไม่แข็งแรงลีบแบน
- มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก ข้อต่อต่าง ๆ
- มีอาการแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ
- มีพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ช้า
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก ประเภทต่าง ๆ
ประเภทที่ 1 จะมีอาการรุนแรงมากที่สุด อาจจะเสียชีวิตหลังคลอดจนถึง 3 เดือนแรก ระบบหายใจจะล้มเหลว ต้องใช้เครื่องหายใจช่วย จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 1 ปี
ประเภทที่ 2 จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมีอายุ 6-12 เดือน สามารถเติบโตได้อีกสักระยะ แต่ร่างกายไม่สามารถใช้งานได้เป็นปกติ อาจจะต้องนั่งรถเข็น นอนติดเตียง กระดูกสันหลังคด ทางเดินใจล้มเหลว และอาจจะเสียชีวิตภายใน 2 ปี
ประเภทที่ 3 อาการจะแสดงออกในช่วง 1 ขวบขึ้นไป ร่างกายจะไม่แข็งแรง เหนื่อยง่าย เดินได้แต่ไม่นาน และต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการเดินเมื่อโตขึ้น
ประเภทที่ 4 จะแสดงอาการเมื่อมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในระยะยาวผู้ป่วยอาจต้องนั่งรถเข็นเมื่ออายุราว 50 – 60 ปี
สาเหตุของการเกิด โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก
กรรมพันธุ์ – เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด สามารถติดต่อได้จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ว่าพ่อหรือแม่
การอักเสบ – จะมีอาการอักเสบขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้บริเวณนั้นอ่อนแรง ปวด และอาจจะมีอาการคล้ายโรคภูมิในตนเองได้อีกด้วย
การติดเชื้อ – ในเด็กเล็กภูมิคุ้มกันยังไม่สูง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะหากติดในทางเดินหายใจหรือระบบทางเดินอาหารก็จะทำให้เสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้
วิธีป้องกัน และรักษา โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก
วิธีป้องกันก็คือก่อนที่จะมีลูก ตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม รวมทั้งการตรวจยีนพาหะเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ทำให้ลูกเกิดมาแล้วเป็นโรคหากพบว่ามี ควรปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งว่าควรทำอย่างไร สำหรับการรักษานั้นในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยจะรักษาตามอาการทีละขั้นตอน
ถึงแม้ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก จะมีโอกาสเกิดได้น้อยแต่หากต้องการที่จะมีลูกพ่อแม่ควรตรวจร่างกายให้ละเอียด หรือหากพบความผิดปกติควรรีบพาไปตรวจเพื่อจะได้ทำการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี