อย่านิ่งนอนใจเมื่อลูกปวดท้องเรื้อรัง

ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกน้อย ถือเป็นปัญหาใหญ่ทั้งหมด ถ้าหากไม่ได้รับการดูแล และการเอาใสใจที่ดี โดยเฉพาะอาการปวดท้องในเด็ก ที่เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยที่มีได้หลากหลายสาเหตุเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่แล้วอาการปวดท้องมักเกิดขึ้นมาจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น ลำไส้บีบตัวแรง เพราะลำไส้อักเสบจากอาหารเป็นพิษ อาหารไม่ย่อย ลมในท้องมากไป ปวดท้องถ่ายอุจจาระ หรือท้องผูก โดยที่อาการดังกล่าวล้วนแล้วจะสามารถหายไปเองได้ ด้วยวิธีการทานยาที่ถูกต้อง แต่อาการปวดท้องบางครั้งอาจมีสาเหตุรุนแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิตถ้าได้รับการรักษาล่าช้า เช่น ไส้ติ่งอักเสบแตก ลำไส้กลืนกัน ลำไส้อุดตัน เป็นต้น

ภาวะปวดท้องเรื้อรังหมายความว่าอย่างไร

สำหรับปัญหาภาวะปวดท้องเรื้อรัง หรือก็คือ การที่เด็กมีอาการปวดท้องเป็นเวลานาน หรือมีอาการปวดที่นานกว่า 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งอาจจะไม่ได้มีอาการที่เจ็บไม่หนัก แต่อันตราย ซึ่งอาจจะมีอาการปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ สลับกันไปมา หรือปวดเรื้อรัง ซึ่งสามารถเกิดจากโรคที่ไม่รุนแรง เช่น ท้องผูก อาหารไม่ย่อย ไปจนถึงการเป็นโรคที่รุนแรง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบเรื้อรัง มะเร็งลิมโฟมา นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น

ปวดท้องเรื้อรังอย่างไรจึงควรมาพบแพทย์

  • อาการปวดท้องเกิดขึ้นบ่อยจนต้องหยุดโรงเรียน
  • กินอาหารได้น้อยลง น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์
  • น้ำหนักลด
  • มีการขับถ่ายที่ผิดปกติไป เช่น ท้องผูกหรือท้องเสีย

อาการปวดท้องเรื้อรังเป็นอย่างไร

สำหรับสาเหตุของอาการปวดท้องเรื้อรังในเด็กนั้น ส่วนใหญ่แล้วอาการเจ็บปวดต่าง ๆ มักจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป ในแต่ละบุคคล โดยจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ปวด และสาเหตุของการปวดท้อง โดยที่เด็กอาจจะมีอาการที่ปวดที่เกิดขึ้นมาจากหลายสาเหตุพร้อม ๆ กันได้นั่นก็คือ

  • คลำพบก้อนก้อนในช่องท้อง
  • ท้องอืดบวมผิดปกติ
  • เลือดออกในทางเดินอาหาร เช่น อาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือด
  • อ่อนเพลีย
  • มีไข้
  • น้ำหนักลด ทานอาหารได้ลดลง ความอยากอาหารลดลลง
  • ตัวเหลือง
  • มีแผลที่ก้น หรือในช่องปาก
  • ซีด

สาเหตุของอาการปวดท้องเรื้อรังมีอะไรบ้าง

สาเหตุหลัก ๆ ที่จะทำให้เกิดภาวะปวดท้องเรื้อรังได้นั้น สามารถเกิดขึ้นมาได้หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และรวมไปถึงอาจเกิดจากความผิดปกติทางร่างกายหรือปัจจัยด้านจิตใจ ดังนี้

  • ท้องผูก
  • ท้องเสีย เช่น จาการติดเชื้อ ไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้(Lactose intolerance)
  • ลำไส้อักเสบเรื้อรัง(Inflammatory Bowel Disease, IBD)
  • ลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome, IBS)
  • การเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารผิดปกติ เช่น มีแก๊สหรือมีการย่อยที่ผิดปกติ
  • กระเพาะอาหารอักเสบแผลในกระเพาะอาหาร
  • โรคตับอ่อนอักเสบนิ่วในถุงน้ำดี ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง
  • โรคมะเร็ง เช่นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารหรือลำไส้ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
  • ปวดท้องจากสาเหตุด้านจิตใจ เช่นความเครียดจากปัญหาที่โรงเรียนหรือที่บ้านหรือต้องการเรียกร้องความสนใจ

การรักษา และการป้องกัน

สำหรับการวิธี และขั้นตอนการรักษาของอาการเด็กที่มีภาวะปวดท้องเรื้อรังนั้น สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลด้วยสุขอนามัยที่ดี เช่น กินร้อน ใช้ช้อนกลาง กินอาหารครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ โดยที่ในปัจจุบันสำหรับการรักษาแพทย์จะรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ ซึ่งส่วนใหญ่รักษาไม่ยากหากทราบสาเหตุที่แท้จริง